วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการเพื่อการศึกษา

***โครงการเพื่อการศึกษา ***
ทุนภูมิพล
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ เพื่อสนับสนุนการศึกษาของชาติเริ่มดำเนินงานเป็นกองทุนจากรายได้
ในการจัด ฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๐, ๐๐๐ บาท ให้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ แห่งละ ๑๐๐, ๐๐๐ บาท
เก็บดอกผลเป็นทุนการศึกษาของ
นิสิตนักศึกษา ต่อมาได้ขยาย ไปยังมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตราบถึง พ.ศ.๒๕๒๙ มีผู้ได้รับ
ทุนและรางวัลประมาณ ๑,๑๓๗ คน เป็นเงิน ๓,๗๘๙,๓๘๐ บาท


ทุนเล่าเรียนหลวง
เริ่มวางระเบียบเป็นหลักฐานเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ในสมัยรัชการที่ ๕ เพื่อให้คนไทยนำความรู้
สมัยใหม่จาก ต่างประเทศมาพัฒนาประเทศ ทุนนี้ได้ยุติลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ใน พ.ศ.๒๕๐๘
มีผู้รับทุนถึง พ.ศ.๒๕๒๙ จำนวน ๙๗ คน เป็นเงิน ๕๒, ๔๐๒,๙๓๕.๔๓ บาท


โรงเรียนร่มเกล้า
โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแก
จังหวัดนครพนม เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชนบทห่างไกล
บริเวณชายแดน และในเขตพื้นที่อันตราย เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชนบทได้มีที่เรียน
และสามารถ เรียนต่อระดับมัธยมศึกษาในท้องถิ่นของตน เป็นการให้ความเสมอภาค
ทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส ในชนบทห่างไกล



                              
มูลนิธิอานันท์มหิดล
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ เพื่อให้โอกาสนักศึกษาที่มีความสามารถยอดเยี่ยมไปศึกษาวิชาชั้นสูง
ในต่างประเทศ แต่เดิมให้ทุนเฉพาะนักศึกษาแผนกวิชาแพทยศาสตร์ต่อมาขยายให้แก่
นักศึกษาแผนก วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสาสตร์ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์และอักษรศาสตร์ มูลนิธิได้จ่ายเงินเพื่อ การนี้ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๒๙ เป็นเงิน ๘๔,๕๔๙,๗๓๙.๐๑ บาท
มีผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๒๙ รวม ๑๐๕ คน



โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ เพื่อสอนหนังสือให้แก่เด็กชาวเขาและประชาชนที่ห่างไกลคมนาคม
เพื่อขจัดความ ไม่รู้หนังสือ และเป็นการผูกมิตรเข้าถึงประชาชน ภายหลังมอบให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่ รับผิดชอบในด้านการจัดดำเนินการ


มูลนิธิช่วยครูอาวุโสในพระบรม ราชูปถัมภ์
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ เพื่อช่วยครูที่เกษียณอายุราชการมีประวัติการทำงานและความประพฤติเป็นแบบ
อย่างที่ดี มูลนิธิจะมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรต และให้เงินช่วยเหลือในรายที่จำเป็น
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๐- ๒๕๒๘ มีครูที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ๙๘๕ รายเป็นเงิน ๖,๐๖๐,๐๐๐ บาท

      

โรงเรียนราชประชาสมาสัย

เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ เพื่อให้บุตรผู้ป่วยโรคเรื้อนที่แยกเลี้ยงจากพ่อแม่แต่แรกเกิดที่มีศึกษาระดับอนุบาล
และประถมศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิราชประชาสมาสัย ของกระทรวง

สาธารณสุข
ต่อมา แยกมาตั้งเป็นมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ

พ.ศ. ๒๕๒๘
จัดการเป็นโรง เรียนราษฎร์ซึ่งมีทั้งฝ่ายประถมและมัธยม นับถึง พ.ศ.๒๕๒๘

โรงเรียนได้เงินช่วยเหลือ
ในด้านต่างๆรวม ๔๑,๐๑๓,๒๓๖.๖๐ บาทมีบุตรผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือ
และพ่อแม่รับกลับไปแล้ว ๒๐๒ คน
    


มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยภาคใต้ ต่อมาขยายให้ความช่วยเหลือ
ด้านการ ศึกษาแก่เด็กกำพร้า จากครอบครัวประสบวาตภัยภาคใต้ และประชาชนที่
ประสบสาธารณภัยต่างๆ ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๒๙ มีผู้ได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆรวม ๔,๕๖๓,๒๔๐ คน เป็นเงิน ๕๑,๖๗๖,๒๐๒.๗๖ บาท และมีผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาถึงเดือนกรกฎาคม ๒๕๒๙ จำนวน ๙๙ ทุน เป็นเงินทั้งสิ้น ๘๕๔,๐๘๐ บาท



โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจัดตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒
เพื่อจัดทำหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ให้ประชาชนได้ค้นคว้าหา
ความรู้ด้วยตนเองในยามที่มีปัญหาขาดแคลนครูและที่เล่าเรียน นับถึง พ.ศ.๒๕๓๑
ได้จัดทำทั้งฉบับ ราชประทานและฉบับจำหน่ายเสร็จแล้วจำนวน ๑๒ เล่ม
และได้มอบหนังสือฉบับพระราชทานให้โรง เรียนทั่วประเทศไปแล้ว ๕๐,๐๐๐ เล่ม



โครงการฝนหลวง




*** โครงการฝนหลวง ***

ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง
"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."

โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ
ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหา
ขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง
ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ
จากพระราชกรณียะกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร
ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่า
จะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาล
ตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ
ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว
ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน
จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้งๆ
ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์
ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า
ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทย
ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย
โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปี
ของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา
ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา
และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน
และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้นในปีถัดมา และทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการ
ในท้องฟ้าให้เป็นไปได้การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ
และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง(dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้วเข้าไปในยอดเมฆสูง ไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้นทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้น
มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัว


ตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตาไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่าเกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุดนับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้





















โครงการตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

** โครงการแก้มลิง **

ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
คือการจัดให้มีสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อทำหน้าที่เป็นบึงพักน้ำให้หน้าน้ำ โดยรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว ก่อนที่จะระบายลงทางระบายน้ำสาธารณะ ฉะนั้น เมื่อฝนตก น้ำฝนจึงไม่ไหลลงสู่ทางระบายน้ำในทันที แต่จะถูกขังไว้ในพื้นที่พักน้ำ รอเวลาให้คลองต่างๆ ซึ่งเป็นทางระบายน้ำหลักพร่องน้ำพอจะรับน้ำได้ จึงค่อยๆ ระบายน้ำลง เป็นการช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขัง ได้ในระดับหนึ่ง
          นอกจากวัตถุประสงค์เพื่อการระบายน้ำแล้ว แนวพระราชดำริ แก้มลิง จึงผสานแนวคิดในการอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย กล่าวคือ เมื่อน้ำที่ถูกเก็บกักไว้ถูกส่งเข้าไปในคลองต่างๆ ก็จะไปบำบัด เจือจางน้ำเน่าเสีย ในคลองเหล่านี้ให้เบาบางลงแล้วในที่สุดก็จะผลักน้ำเน่าเสียที่เจือจางแล้วลงสู่ทะเล
 การจัดหาและการออกแบบแก้มลิงเพื่อชะลอน้ำท่วม
         
วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินการ ให้มีการชะลอน้ำ หรือพื้นที่เก็บกักน้ำ ก็เพื่อลดหรือชะลออัตราการไหลของน้ำผิวดิน ที่เกิดจากการไหลที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้พื้นที่ระบายน้ำก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ระบบ ระบายน้ำสาธารณะ           ในการพิจารณาออกแบบพื้นที่ชะลอน้ำหรือพื้นที่เก็บกักน้ำ จะต้องทราบปริมาตรน้ำผิวดินที่จะเก็บกักและอัตราการไหลผิวดินที่มากที่สุดที่จะยอมให้ปล่อยออกได้ในช่วงเวลาฝนตก ปริมาตรที่เก็บกัก ควรจะเป็นปริมาตรน้ำที่เพิ่มขึ้นเมื่อพื้นที่ระบายน้ำได้รับการพัฒนาแล้ว
          ในการจัดหาพื้นที่แก้มลิง ที่สำคัญที่สุดของการจัดหาพื้นที่ชะลอน้ำหรือพื้นที่เก็บกักน้ำ คือจะต้องพยายามจัดหาพื้นที่เก็บกักให้พอเพียง เพื่อที่จะได้ควบคุมอัตราการไหลออกจากพื้นที่ชะลอน้ำเหนือ พื้นที่เก็บกักน้ำไม่ให้เกินอัตราการไหลออกที่มากที่สุด ที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการท่วมขังในระบบระบายน้ำสาธารณะหรือพื้นที่ต่ำ
          สำนักการระบายน้ำได้ดำเนินการจัดหาพื้นที่รองรับและเก็บกักน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม (แก้มลิง) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการระบายน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้เก็บกักน้ำฝนชั่งคราวก่อนระบายลง ระบบระบายน้ำสาธารณะ ซึ่งในชั้นแรกจะทำการจัดหาพื้นฝั่งพระนคร โดยมีเป้าหมายในการจัดหาพื้นที่เก็บกักน้ำปริมาตร 13ล้านลูกบาศก์ก็เมตร
          ปัจจุบันสำนักการะบายน้ำได้จัดหาพื้นที่แก้มลิงได้จำนวน 20 แห่ง และมีความสามารถในการเก็บกักน้ำได้ 10,062,525 ลบ.ม. ส่วนในพื้นที่ทางด้านฝั่งธนบุรีจะมีคลองเป็นจำนวนมาก โดยคลองส่วนใหญเห็นคลองตามแนวตะวันออกตะวันตก ซึ่งระบายน้ำออกทางด้านแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในช่วงฤดูน้ำหลากจากทางเหนือน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีระดับสูงขึ้น จึงควรใช้คลองหลักที่มีอยู่นั้นเป็นแก้มลิง โดยทำการสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการเก็บกักและระบายน้ำออกสู่ทะเล
ประเภทและขนาดของแก้มลิง
          1.
แก้มลิงขนาดใหญ่ (Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้นๆโดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ การจัดสร้างพื้นที่ชะลอน้ำ หรือพื้นที่เก็บกักน้ำจะมีหลายประเภท คือ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีจะมีวัตถุประสงค์อื่น ประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น
          2. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ได้มีการก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น
          3. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง
แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า แก้มลิงเอกชนส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่าแก้มลิงสาธารณะ

ความจำเป็นในการดำเนินโครงการแก้มลิง
          1.
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จากลักษณะธรรมชาติ มาเป็นพื้นที่พัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ทำให้ปริมาณและอัตราการไหลสูงสุดของน้ำผิวดินในพื้นที่เพิ่มขึ้น
          2. ปริมาตรและอัตราการไหลของน้ำผิวดินที่เพิ่มขึ้นของพื้นที่ทึบน้ำ จะก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมทางด้านท้ายน้ำหรือที่ต่ำเพิ่มมากขึ้น ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นจึงขยายตัวเพิ่มขึ้น ไปทางด้านเหนือน้ำ
          3. ขนาดของคลองและความจุเก็บกักทางระบายน้ำเป็นประการสำคัญเพราะมีขนาดเล็กกว่าความสามารถในการรองรับปริมาณและอัตราการไหลสูงสุดของน้ำผิวดินที่เพิ่มขึ้นเพราะการรุกล้ำคูคลอง และพื้นที่สาธารณะ




ภาษาเด็ก